สารเคมีหนึ่งในกลุ่มนั้นคือ resveratrol ที่พบในไวน์แดงโดยเฉพาะไวน์ที่ผลิตในเขตหนาว เช่นในนิวยอร์ค
เมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานในนิวยอร์คไทมส์ว่านักชีววิทยาได้ค้นพบกลุ่มของสารเคมีในไวน์แดงที่คาดว่าจะช่วยยืดอายุคนเราให้ยืนยาวยิ่งขึ้น สารเคมีหนึ่งในกลุ่มนั้นคือ resveratrol ที่พบในไวน์แดงโดยเฉพาะไวน์ที่ผลิตในเขตหนาว เช่นในนิวยอร์ค การค้นพบนี้ทำให้อธิบายได้ว่าเหตุใดชาวฝรั่งเศสที่ชอบกินอาหารไขมันสูงซึ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจจึงมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนอื่น
สารเคมีนี้ออกฤทธิ์เลียนแบบอาหารแคลอรีต่ำที่ช่วยยืดวงจรชีวิตของหนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าถ้าสารเคมีเหล่านี้ออกฤทธิ์ต่อคนเหมือนกับในหนู ก็จะช่วยทำให้อายุขัยของคนยาวขึ้น 30 % ซึ่ง Dr. Leonard Guarente หนึ่งในนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่าถ้าคนที่มีอายุ 50 ปีได้รับสารเคมีนี้ ก็อาจจะทำให้ชีวิตยืนยาวเพิ่มขึ้นได้อีก 10 ปี โดย Dr.David Sinclair จาก Harvard Medical School ได้แถลงข่าวการค้นพบนี้ในงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ที่ Arolla และได้มีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature
การค้นพบใหม่นี้เป็นที่สนใจของนักชีววิทยาหลายคนที่กำลังศึกษาเรื่องการจำกัดแคลอรีที่มีผลต่อความแก่ ว่าช่วยเพิ่มอายุขัยของสัตว์ทดลอง โดยอาหารจำกัดแคลอรีน้อยกว่าปกติ 30% จะสามารถเพิ่มวงจรชีวิตของหนูทดลองได้ 30-50% ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะให้ผลต่อคนในแบบเดียวกับหนู
ถึงแม้ว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะรู้ถึงผลของ resveratrol ที่มีต่อคน แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยนี้ก็ได้เริ่มที่จะดื่มไวน์แดงกันแล้ว ซึ่งปริมาณ resveratrol ที่มีในไวน์แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน resveratrol จะถูกสังเคราะห์โดยพืชที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารและมีการติดเชื้อรา สามารถพบได้ในเปลือกขององุ่นแดงและขาว แต่จะพบมากเป็น 10 เท่าในไวน์แดงเนื่องจากความแตกต่างของขบวนการผลิต นอกจากนี้ไวน์ที่ผลิตในบริเวณอากาศหนาวจะมี resveratrol มากกว่า อย่างไรก็ตาม resveratrol สลายตัวง่ายเมื่อสัมผัสอากาศ โดยอาจสลายตัวไปหมดภายใน 1 วันหลังจากที่เปิดขวดไวน์แล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังพัฒนาดัดแปลงสารเคมี resveratrol ให้มีความคงตัวมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น