วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

เลือกอาหารเลี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เราทำได้โดยการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันและการเลือกอาหารการกิน เราสามารถเลี่ยงการเกิดโคเลสเตอรอลสูงได้โดยระวังการรับประทานอาหารประเภทไขมันเป็นพิเศษ โดยลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
ทุกวันนี้คนไทยเราเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารหันมาบริโภคเนื้อสัตว์กันมาก ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล รวมทั้งน้ำตาลและโซเดียมเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับวิถีชีวิตประจำวันที่นั่งทำงานอยู่กับที่มากขึ้น เคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้คนไทยเราอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากเป็นประวัติการณ์

เช่น มันหมู มันไก่ หนังเป็ด หนังไก่ รวมถึงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงๆ อย่างเช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หากจำเป็นต้องปรุงด้วยน้ำมันก็ควรหันมาเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง อย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันถั่วเหลือง จะดีกว่า เนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจะมีผลในการลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL cholesterol) แต่ไม่ลดโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL cholesterol) ให้กับร่างกาย

ซึ่งหากเราใส่ใจเรื่องอาหารการกิน เลือกชนิดเนื้อสัตว์ นม และน้ำมันที่ใช้ปรุงประกอบที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณไขมันรวมทีเพียงพอไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
เลือกอาหารเลี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
โภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
  • กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัวอยู่เสมอ
  • กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  • กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ
  • กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำ
  • ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
  • กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
  • กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  • งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สัดส่วนและปริมาณอาหารที่ควรกินตาม ธงโภชนาการ
กินอาหารให้ได้พลังงาน ให้เหมาะสมกับ เพศ วัย และกิจกรรมประจำวัน ดังนี้
  • กลุ่มเด็ก ผู้หญิง (ทำงานนั่งโต๊ะ) ผู้สูงอายุ ควรได้พลังงานประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี
  • กลุ่มวัยรุ่น ชาย หญิง ผู้ชายวัยทำงาน ควรได้พลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี
  • กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักกีฬา ควรได้พลังงานประมาณ 2,400 กิโลแคลอรี
เมื่อทราบพลังงานที่เราควรได้รับแล้ว จะกินอาหารอย่างไรก็ให้ประมาณการกินแต่ละหมวดอาหารดังนี้
หมวดอาหาร
1,600
พลังงานที่ต้องการ
2,000
2,400
หน่วย
กิโลแคลอรี่
ข้าว-แป้ง
ผัก
ผลไม้
เนื้อสัตว์
นม
8
4
3
6
2
10
5
4
9
1
12
6
5
12
1
ทัพพี
ทัพพี
ส่วน
ช้อนกินข้าว
แก้ว

ทั้งนี้ควรเลือกชนิดอาหารที่หลากหลายในหมวดเดียวกัน สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ไม่กินอาหารอย่างหนึ่งอย่างใดซ้ำจำเจ เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารต่างๆ ครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง

(ที่มา : ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์, เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 28 ก.ค.2547)
ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Reviews Camcorders.

 

INVariety Copyright © 2009 Cookiez is Designed by Ipietoon for Free Blogger Template